20 กุมภาพันธ์, 2558

งานออกแบบ/สินค้าตัวนี้ห่วยจัง! เพราะคนทำมีฝีมือแค่นี้(จริงเหรอ???)

พอดีไปอ่านข่าว ขอเชิญร่วมวิจารณ์แนวทางการออกแบบ เว็บไซต์ธนาคารกสิกรไทยโฉมใหม่ และ อดีตหัวหน้าทีมดีไซน์ซัมซุงเผย ทำไมผลิตภัณฑ์ซัมซุงดีไซน์ออกมาห่วย ก็เลยอยากเขียนอะไรไว้หน่อย

** สำหรับสายงานที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและเขียนโปรแกรมหรือITควรจะเข้าไปอ่านข่าวและคอมเมนท์เองด้วยนะ
** ล่าสุดเว็บกสิกรเปลี่ยนกลับเป็นแบบเดิมแล้วล่ะ (ภายใน1วันหลังจากlaunch 20 ก.พ.)

ส่วนใหญ่แล้ว ไม่ว่าธุรกิจอะไรก็ตามที่มีการขายสินค้าให้ลูกค้า ซึ่งในที่นี้พูดถึงทั้งเป็น "รูปธรรม (สิ่งของ hardware)" และ "นามธรรม (โปรแกรม เว็บ software)" นั้น สิ่งแรกที่ลูกค้าเห็นหรือเรียกว่าเป็น First Impression ให้เขาประทับใจหรือหรือยี้ในครั้งแรกเลยก็คือ UI - User Interface หรือ งานดีไซน์นั่นเอง


ล่าสุด กสิกรไทยได้ทำการปรับโฉมหน้าเว็บใหม่ ซึ่งก็ออกมาเป็นแบบรูปข้างบนนี่! ถ้าถามว่ามันสวยมั้ย?
คำถามนี้คงต้องย้อนถามก่อนว่า...

ถามใครล่ะ??

ถ้าคุณอยู่ในวงการพัฒนาเว็บไซต์หรือเป็นคนที่เล่นเว็บเปิดแอพประจำคำตอบ 90% น่าจะออกไปทาง "แย่มาก มันห่วยสิ้นดี!!" แต่รู้มั้ยว่าคำถามเดียวกันนี้ แต่ไปถามกับคนอีกกลุ่มหนึ่งคำตอบที่ได้อาจจะแค่ "ทำไมเหรอ ก็สวยดี(มั้ง)"

เอาล่ะ เชื่อว่าคนที่เข้ามาอ่านบล๊อกนี้น่าจะเป็นคนกลุ่มแรกมากกว่าที่เปิดเข้าเว็บไปปุ๊บก็บ่นเลยว่าใครออกแบบมาเนี่ย มันช่าง@#$%&*เหลือเกิน

ป.ล. เราก็ว่ามันไม่ได้แย่ขนาดนั้นนะ UI สวยดีแต่ UX ไม่ผ่าน -- สำหรับคนที่รู้จัก UI แต่ยังไม่รู้จัก UX ไปอ่านเพิ่มได้ที่นี่ จิ้มเลย!
ป.ป.ล. คนอีกกลุ่มที่ว่าคือกลุ่มที่ไม่ค่อยเล่นคอม/มือถือ หรือเล่นแต่เป็นคนรุ่นผู้ใหญ่ที่ไม่ค่อยสนดีไซน์เท่าไหร่นะครับ ลองถามมาแล้ว คนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะบอกว่าเว็บยุคใหม่ดีไซน์เรียบๆ นี่แหละที่มันไม่สวยเพราะมันไม่มีอะไร 555

แล้วออกแบบเช่นนี้มา มันไม่ดีตรงไหนเหรอ

เท่าที่อ่านคอมเมนท์ของแต่ละเจ้าที่มาวิจารณ์ ส่วนใหญ่จะบอกว่าหน้าเว็บนี้มันคงจะดี ถ้าเป็นยุคปี90s-ช่วงปี2000 ที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ถูกจำกัดแค่ 800 x 600 px แล้วการออกแบบเว็บโดยใช้ Flash ทั้งหน้ายังเป็นที่นิยมอยู่

แต่นี่มันปีอะไรเข้าไปแล้วครับ 2015 ... 2015แล้วท่าน เดี๋ยวนี้เทรนด์เขานิยมเว็บคลีน ของไม่รก อ่านง่ายหาของง่าย และที่สำคัญคือต้อง Responsive เปิดในจอขนาดเท่าไหร่ก็ได้ตั้งแต่หน้าจอคอมไปจนถึง Smartphone พูดง่ายๆ คือดีไซน์ใหม่นี่มันไม่ตอบโจทย์พวกนี้เลย ให้ตายเถอะ! (ยิ่งคุณเห็นมันแล้วหงุดหงิดเท่าไหร่ แสดงว่าคุณมีความเป็น Developer/Power User เท่านั้น เพราะจากที่ไปถามมา End User จริงๆ จะบอกแค่ว่า "ก็สวยดี" เมื่อคุณไปถามเขา)

โอเคมาเข้าเรื่องกันดีกว่า...
(อ้าว แล้วที่เกริ่นมายืดยาวนี่ยังไม่เข้าอีกเหรอ 555 ยัง!)

08 กุมภาพันธ์, 2558

[Review] Fury - วันปฐพีเดือด (★★☆☆)

Fury - วันปฐพีเดือด

ให้คะแนน (★★)

รีวิวนี้เป็นความเห็นส่วนตัว คะแนนที่ให้ทั้งหมดมาจากความประทับใจของตัวเองล้วนๆ ไม่สนกระแส ไม่สนบทภาพยนต์ ไม่สนนักแสดง-ผู้กำกับทั้งสิ้น

ตอนนี้มีกระแส The Imitation Game กำลังมาแรง เรื่องนั้นก็เกี่ยวกับเหตุการณ์ในสงครามโลกครั้งที่สองเหมือนกันแต่เรื่องนี้ดูแล้วเขียนค้างไว้นานแล้ว (ดองนั่นเอง)

ฟิวรี่เป็นชื่อของรถถังรุ่นเชอร์แมน (รถถังมาตราฐานของฝ่ายอเมริกา) คันที่พระเอกของเรื่องขับ อ่ะ..พูดถึงรถถังแน่นอนว่าเรื่องนี้มันต้องเกี่ยวกับสงครามแน่ๆ ช่วงเวลาของเรื่องฟิวรี่อยู่ในยุคสงครามโลกครั้งที่สอง WWII ซึ่งตอนนั้นฝ่ายสัมพันธมิตรเริ่มโต้กลับและบุกเข้าประเทศเยอรมันนีแล้ว

เรื่องนี้มีตัวเอกเด่นๆ 2 คนคือ "วอร์แดดดี๊" (แสดงโดยแบรด พิตต์) ในตำแหน่ง ผู้บัญชาการรถถัง กับ "นอร์แมน" ตำแหน่งผู้ช่วยคนขับและพลปืนกล เรื่องเปิดมาโดยที่เล่าให้เห็นว่าผลปืนกลประจำรถของพวกพระเอกโดนระเบิดเสียชีวิตไป ทำให้กองทัพส่งพลปืนกลคนใหม่มาให้ประจำการแทน แต่พลปืนกลคนใหม่ก็ดันเป็น นอร์แมน เด็กหนุ่มที่ยังไม่เคยลั่นไปปืนฆ่าคนเลยประมาณว่าเป็นเด็กหนุ่มที่ไม่น่าจะมาเป็นทหารอะไรประมาณนั้น เลยมีดราม่ากันนิดหน่อยระหว่างผลประจำรถถังเดิมกับนอร์แมนที่มองสมาชิกใหม่เป็นแค่ไก่อ่อนที่ทำอะไรไม่ได้

ในเรื่องพวกพระเอกได้รับคำสั่งให้ไปสกัดกองทหารเยอรมันนีที่จุดยุทธศาสตร์หนึ่ง ตอนแรกก็ไปกัน 5 คัน แต่เดินทางไปก็ไปเจอกับรถถัง Tiger ของฝ่ายเยอรมันเข้า ทำให้มีแต่คันของพวกพระเอกเท่านั้นที่หลุดไปถึงจุดยุทธศาสตร์เพื่อทำภารกิจสกัลกองทัพเยอรมันที่กำลังจะเดินทางผ่านไปด้วยรถังแค่คันเดียว

โดยส่วนตัว คาดหวังว่าจะได้เห็นฉาก action รบกันโดยใช้ยุทธการรถถัง/ยานเกราะ แต่ก็มีฉากแบบนี้ไม่เยอะ หลักๆ มี 3 ฉากเท่านั้นคือฉากใช้ขบวนรถถัง+ทหารราบเข้าตีที่มั่นศัตรู (กลยุทธ์มาตราฐานของฝ่ายอเมริกา) ฉากรถถังเชอร์แมน vs รถถังไทเกอร์ แบบ 4ต่อ1 และฉากสุดท้ายที่ไปตั้งหลักต้านทัพเยอรมัน ... นอกนั้นจะเป็นฉากดราม่าประเด็นความโหดร้ายของสงครามที่เล่าผ่านนอร์แมนที่เป็นเหมือนทหารใหม่เพิ่งมาจับปืนฆ่าคน ซึ่งขอตัดคะแนนตรงนี้เพราะอยากดูฉากบู๊โดยใช้รถถังมากกว่าเพราะเคยดูหนังสงครามโลกที่เน้นฉากบู๊มากกว่าดราม่าแบบ U-571 แล้วชอบมาก แต่เรื่องนั้นเป็นทัพเรือ/เรือดำน้ำ

ดังนั้นถ้าใครชอบหนังดราม่า เน้นอารมณ์อาจจะชอบเรื่องนี้มากกว่าเราก็ได้ แต่ถ้าชอบแบบเราก็มีให้ดูแค่3ฉากเท่านั้นแหละ แต่3ฉากนั้นสนุกนะ อลังการโดยเฉพาะคนที่รู้ว่าวิธีการต่อสู้ด้วยรถถังเป็นยังไงจะดูแล้วอินฯ ดี (เราดู Girl und Panzer มาแล้วเลยรู้กลยุทธ์ส่วนใหญ่)

03 กุมภาพันธ์, 2558

ทำไมถึงต้องเขียนโปรแกรมแบบ OOP กัน? เขียนแบบซัดโค้ดตู้มเดียวที่เคยทำตอนเริ่มเรียนเขียนโปรแกรมไม่ได้เหรอ

ตั้งแต่ปีใหม่ เหมือนตัวเองเขียนแต่บล๊อกแปลบทความ ยังไม่มีบทความออริจินอลเลย คิดไปคิดมาเขียนเรื่อง OOP ดีกว่า เพราะช่วงนี้ไปดูโค้ดน้องหลายคนแล้วเขียนกันแบบ Structure ตรงๆ ซึ่งช่วยแก้ได้ยากมาก มาเขียน OOP กันเถอะเพื่อชีวิตที่ดีขึ้น (มั้งตัวเองและผู้อื่นเลยนะ)

ก่อนอื่นต้องมาทำความเข้าใจคำว่า OOP กันก่อนนะ

OOP ย่อมาจาก Object Oriented Programming แปลเป็นไทยว่า "การเขียนโปรแกรมแบบวัตถุ" ! ห๊ะ...แปลออกมายิ่งงงเข้าไปใหญ่

งั้นขอย้อนกลับไปหน่อย ปกติแล้วทุกคนมักจะเรียนเขียนโปรแกรมครั้งแรกอาจจะเป็นภาษา C, Java (หรือภาษาอะไรก็ตามเถอะ) ตอนนั้นเรายังไม่สนใจว่าภาษาโปรแกรมที่เราเรียนกันอยู่นั่นน่ะเป็นภาษาแบบไหนเพราะแค่ทำความเข้าใจ if-else loop function อะไรพวกนั้นก็เต็มหัวไปหมดแล้ว

ขอยกตัวอย่างภาษา C ละกัน สำหรับคนที่เคยเขียนมาแล้วน่าจะคุ้นกับเจ้านี่
void main()
{
    //เราจะซัดโค้ดทั้งโปรแกรมลงในนี้แหละ
}
จริงมั้ยล่ะ ตอนเรียน C ไม่ว่าจะเขียนโปรแกรมเล็กแบบ Hello World หรือโปรแกรมใหญ่ๆ ระดับ Final Project ตอนท้ายเทอมเป็นพันบรรทัดเราก็ยัดมันลงไปใน void main นี่แหละ (ถ้าใครเก่งหน่อยก็อาจจะมีการแยกโค้ดออกมาเป็น function บ้าง แต่คิดว่ารุ่นนึงน่าจะมีไม่เยอะที่ทำ) แต่โดยรวมก็คือเขียนคำสั่งต่อเนื่องไปเรื่อยๆ อาจจะมีบางส่วนที่ชวนปวดหัวบ้าง แต่ก็ยังไปถึงปลายทางได้แหละน่า


อ่านมาถึงตรงนี้อาจจะมีคำถามเกิดขึ้นว่า แล้วมันไม่ดียังไงเหรอ? เขียนออกมาแล้วโค้ดก็ทำงานได้นะ

โอเค โค้ดทำงานได้แต่ต้องมีอะไรที่มันไม่ดีแน่ๆเขาถึงคิดวิธีการเขียนโปรแกรมแบบอื่นขึ้นมาใช้แทน

Structure VS Object

รู้ไหมว่าการเขียนโปรแกรมโดยซัดโค้ดทุกอย่างลงไปกระจุกอยู่ใน void main ตัวเดียวเนี่ยเขาเรียกว่าการเขียนโปรแกรมแบบ "Structure Programming"
อธิบายง่ายๆ คือเขียนโค้ดทีละบรรทัดเพื่อบอกให้คอมพิวเตอร์ทำอะไรไปเรื่อยๆ วิธีนี้เป็นวิธีที่เคยฮิตสมัยเพิ่งมีภาษา C แน่นอนว่าสำหรับยุคนี้มันเก่าไปแล้ว

เหตุผลล่ะ?

ทำงานเป็นทีมได้ยาก

เรื่องแรกที่เป็นจุดอ่อนของ Structure Programming คือมันทำงานเป็นทีมได้ยาก เคยทำงานเป็นคู่หรือเป็นกลุ่มไหม ตอนที่ต้องเขียนโปรแกรมมากกว่า 1 คนคุณทำยังไงล่ะ

อืม... ทางเลือกมันก็มีไม่เยอะนักหรอกนะ คือไม่นั่งสุมหัวช่วยกันเขียนบทคอมเครื่องเดียว คุณก็แยกงานกันทำแล้วพอเอามาโค้ดมารวมกันก็ระเบิดจ้า!

อ่านไม่รู้เรื่อง / เอาโค้ดมาใช้ใหม่ไม่ได้

ตอนเขียนโปรแกรมแบบ Structure เราอยากทำอะไรก็ทำใช่ไหม อยากประกาศตัวแปรเพิ่มก็ประกาศ ตรงนี้เกิดปัญหา งั้นวาง if ดักไว้ละกัน โค้ดตรงนี้เป็นส่วนแสดงผลนะ และอื่นๆ อีกมากมาย
คือมันให้เราทำอะไรก็ได้ ดังนั้นมันจึง "อ่านยาก"

ตอนเขียนโค้ดยังไม่เท่าไหร่นะ แต่ลองเก็บโปรเจคนี้ไปสักเดือนหนึ่งแล้วเปิดกลับขึ้นมาดูใหม่สิ คิดว่าคุณจำสิ่งที่คุณเขียนไปแล้วได้แค่ไหน ส่วนใหญ่ที่เจอมาจะลืมนะ แต่ก็จะนึกย้อนว่าตัวเองในอดีตว่าแกเขียนอะไรมาเนี่ยน แก้ไม่ถูกเลย

อีกเรื่องหนึ่งคือเอาโค้ดที่เคยเขียนมาแล้วมาใช้ใหม่ไม่ได้ อยากเราเคยเขียนโปรแกรมหาค่าเฉลี่ยคะแนนนักเรียนไปเมื่อสองวันก่อน วันนี้ต้องมาเขียนโปรแกรมหาค่าเฉลี่ยเงินเดือนพนักงาน เอ๊ะ! มันคล้ายๆ กันนะ ใช้โค้ดเก่าเลยได้มั้ย ... จากนั้นก็เปิดงานเก่า copy+paste ซะแล้วก็ปรับๆ อีกนิดหน่อย ถ้าปรับได้ก็ดีไป ถ้าไม่ได้ยิ่งปรับยิ่งเละกว่าเดิมจนถึงระดับที่คิดได้ว่าเขียนใหม่มันดีกว่า

....

02 กุมภาพันธ์, 2558

[Review] การ์ตูน "ไม่ไทยเบย"

เมื่อพูดถึง "ไม่ไทยเบย" แล้วคุณจะนึกถึงอะไร พบกับการ์ตูนเรื่องสั้นหลากมุมมองกับการตีความที่จะทำให้คุณอดยิ้มไม่ได้


การ์ตูนเล่มนี้เป็น Debut ฉบับพิเศษที่สำนักพิมพ์สยามอินเตอร์ฯ (CartoonThai Studio) เขาจัดขึ้นมาเพื่อคัดเลือกนักเขียนการ์ตูนประมาณนั้นแหละนะ

โดยส่วนตัวเห็นว่าคอนเซ็ปน่าสนใจดีคือให้แข่งกันในหัวข้อ

ไม่ไทยเบย

อ่ะว้า ... แค่ชื่อหัวข้อก็ไม่ไทยแล้ว แต่ไอเดียที่นักเขียนแต่ละคนเค้นกันมาเล่านั้นสนุกยิ่งกว่า ในเล่มประกอบด้วยการ์ตูนเรื่องสั้น 7 เรื่องซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเน้นความชาตินิยมนิดๆ ของคนไทยที่พูดแต่ปาก หากแต่การกระทำกลับเลียนแบบต่างชาติไปซะหมด

เรื่องที่แนะนำ
- งามอย่างไทยแท้ โดย Firodendon (คนนี้เคยอ่านงานเขามาก่อน เป็นหนังสือประกอบภาพเรื่อง Time to be a Freelance เรื่องนี้ก็แนะนำนะ ใครอยากทำฟรีแลนซ์ลองไปหามาอ่าน) ... เนื้อเรื่องคือโรงเรียนแห่งหนึ่งจะจัดงานวัฒนธรรมแต่คอนเซ็ปปีนี้โรงเรียนกำหนดธีมไว้ให้เป็น "งามอย่างไทยแท้" ปัญหาจึงเกิดขึ้นเมื่อแต่ละชมรมไม่รู้จะแถอะไรให้มันเข้าธีมงาน

- สู้ตัยยัยเจ้าที่ โดย GAPANGMAN ... เรื่องของหนูผัก เจ้าที่(น่ารัก)ที่ครอบครับที่ดูแลอยู่ดันย้ายไปต่างประเทศซะงั้น เป็นการเอาเจ้าที่ไทยไปลุยต่างแดนกันเลยทีเดียว แถมต้องไปบู้กับพวกปีศาจฝรั่งในบ้านหลังใหม่ซะด้วย

- Why so Thai? ทำไมต้องไทยแท้ โดย ไนตี้ ... เรื่องนี้ออกจะซีเรียสนิดๆ คือเป็นการคุยกันระหว่างคน 2 คน คนหนึ่งประมาณว่าชาตินิยม ต้องเป็นไทยเท่านั้น อีกคนก็ให้เหตุผลว่าจริงๆ ควรจะกลางๆ พอนะเพราะวัฒนธรรมไทยก็รับมาจากชาติอื่นเยอะเหมือนกัน ให้ข้อคิดว่าคนไทยมักอายที่จะทำตัวเป็น "ไทย" ไม่เหมือนที่ปากพูด

ก็ลองไปหามาอ่านเล่นละกัน เป็นการ์ตูนที่มีอะไรมากกว่าที่คุณคิดนะ ;)