16 พฤศจิกายน, 2557

[แปล] User eXperience (UX) - ตอนที่ 1 อะไรคือUXกันนะ ทำไมถึงสำคัญนัก

พอดีที่ออฟฟิศมาเปิดคอร์ส UX User Experience: The Ultimate Guide to Usability โดย Dr David Travis ซึ่งจริงๆ มันเป็นคอร์สเสียเงินแต่บอสใจดีออกค่าเรียนให้ เลยขอเอาที่ดูมาสรุปไว้ในบล๊อกนี้ละกัน

เวลาเราจะสร้างโปรแกรมขึ้นมาโปรแกรมหนึ่ง (หรือออกแบบดีไซน์อะไรบางอย่าง) ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมแบบ Desktop Web หรือ Mobile ก็ตาม คนส่วนใหญ่มันจะคิดถืงแต่ "ความสวยงาม" เป็นหลัก

อ้าว พูดงี้แล้วมันไม่ถูกเหรอ ออกแบบออกมาถ้าสวยก็ทำให้คนประทับใจได้ก่อนแล้วนะ แบบ First Impression ไงล่ะ

ก็ถูกนั่นแหละนะ แต่...

เคยไหม ... โหลดแอพมาเล่นเพราะดูจากใน preview แล้วแอพมันสวยเหลือเกิน แต่พอโหลดมาใช้แล้วกลับมาความรู้สึกว่ามันยังไม่ใช่ แล้วก็ไม่เปิดมันมาใช้อีกเลย
และเคยไหม ... แอพอะไรก็ไม่รู้ โหลดมาเล่นๆ ดีไซน์ไม่สวยเอาซะเลยแต่เรากลับเปิดใช้มันทุกวัน

การดีไซน์productออกมาให้สวยงามมันไม่ได้แปลว่ามันจะน่าใช้หรอกนะ เราต้องคิดด้วยว่าถ้าเราเป็น User แล้วเจอโปรแกรมแบบนี้ เราจะชอบมันหรือไม่อยากเปิดมันมาใช้อีกเลย


แยกให้ออกระหว่าง UX กับ UI

UX (User eXperience) กับ UI (User Interface) เป็นสิ่งที่ดีไซน์เนอร์มือใหม่หลายคนไม่เข้าใจมัน
เพราะการออกแบบโปรแกรมไม่เหมือนกับการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ (โปรแกรมมันต้องมีการตอบโต้กับผู้ใช้ แต่พวกสื่อสิ่งพิมพ์คนอ่านจะมองแต่ภาพ ถ้าเห็นแล้วคิดว่าสวยก็ถือว่าใช้ได้)

สำหรับดีไซน์เนอร์ อาจจะเคยได้ยินคำว่า UI กันบ่อย เพราะมันก็คือการดีไซน์ให้หน้าตาของโปรแกรมเราสวยงามดูหรูหราอลังการไฮโซ ... ส่วน UX ล่ะ มันคือสิ่งที่ว่าด้วยความรู้สึกของผู้ใช้ ซึ่งความสวยงามของการดีไซน์นั้นไม่ได้ช่วยให้โปรแกรมใช้ง่ายขึ้นแต่อย่างใด

มีภาพชุดหนึ่งที่เราเห็นว่าเขายกตัวอย่างข้อแตกต่างระหว่าง UX กับ UI ได้ดี เป็นภาพจาก design.org เราลองมาดูกัน

ในตัวอย่างนี้เขาเปรียมเทียบโปรแกรมของเราเป็น "อาหารเช้าคอนเฟล็ก" การใช้ของก็ง่ายๆ คือเอาไว้กินล่ะนะ (ฮา)

ตัวแรกสุดคือ Product หรือก็คือตัวแทนโปรแกรมที่เราจะออกแบบนั่นแหละซึ่งในที่นี้ก็คือถ้วย ช้อน และคอนเฟล็ก (อาหารเช้าแบบซีเรียลรับประทานพร้อมนมสด)


ดังนั้น ขอถามว่าเราจะกินคอนเฟล็กพวกนี้ยังไงกัน?
คำตอบก็คือใช้ส่วนติดต่อกับผู้ใช้ User Interface ซึ่งในที่นี้มันคือ "ช้อน" นั่นเอง!

เอาล่ะ การออกแบบ UI ที่ดีก็คือการออกแบบเจ้าช้อนนี่ให้มันสวยงาม อาจจะเป็นช้อสแตนเลสมีลายอะไรประมาณนั้น ผู้ใช้จับช้อนขึ้นมาแล้วอาจจะร้องว้าว ช้อนสวยจังอะไรทำนองนี้


แต่ความสวยงาม (UI) ที่พูดไปเมื่อกี้อาจจะไม่มีประโยชน์เลยถ้าเกิดว่า User ไม่ได้สนใจความสวยงามพวกนั้น เพราะเขากำลังหิว!

เพิ่งตื่นมาเช้าๆ สมองยังเบลออยู่ และหิวมาก ถ้าจากสเต็ปเมื่อกี้คุณบอกว่าคุณออกแบบช้อนอย่างวิจิตรอลังการมีแกะสลักลายด้วย รายละเอียดพวกนี้คงไม่ใช่สิ่งที่ User สนใจเท่าไหร่นัก เพราะตอนนี้พวกเขาขอให้มันเอาไปใช้ตักอาหารเข้าปากได้ก็พอแล้ว


ลองคิดดูสิ ว่าถ้าคุณอาจจะตักคอนเฟล็ก แล้วเราเอาช้อนเล็กๆ แต่สวยนะ ดีไซน์ดีสไตล์มากให้คุณ คุณอาจจะชอบมันในตอนแรกที่ได้รับ แต่พอลองตักอาหารดูแล้วก็จะเริ่มพบว่ามันตักยาก ตักนมก็ไม่ได้ คุณก็จะเริ่มหงุดหงิดแล้วเดินไปหาช้อนใหญ่ๆ มาใช้แทนโดนไม่สนว่าช้อนมันจะดีไซน์เป็นอย่างไรจริงไหม

พอเห็นภาพแล้วสินะว่า UX มันคือการออกแบบที่คิดถึงจิตใจของ User มากๆ โดยไม่สนใจความสวยงามเลย (แต่ก็ใช้ว่า ไม่มี UI ได้นะ ถึง UX จะดีงามแต่ถ้ามันไม่สวย User ก็ปิดทิ้งได้เหมือนกันนา)

ทำไมถึงต้องทำ UX?

สำหรับคนทั่วๆ ไป UX อาจจะไม่ได้มีประโยชน์มากนัก แต่ในแง่ของบริษัทที่รับจ้างเขียนโปรแกรมสร้าง software นั้น UX จะช่วยเราได้มากตั้งแต่
  1. ลดค่าใช้จ่าย (Cost) เพราะเราจะพัฒนาเฉพาะสิ่งที่ User ต้องการ พัฒนาอย่างรวดเร็ว แก้ปัญหาอย่างรวดเร็ว
  2. เพิ่มรายได้ (Income) เพราะว่า User จะยอมจ่ายเงินที่มากกว่า เพื่อทำให้ชีวิตเค้าเลอค่าแฮปปี้ๆ

แล้วเริ่มต้นอย่างไรดี?
“FOCUS ON USER AND THEIR TASKS”
(เลิกเอาความคิดเราเป็นตัวตั้ง! แต่ให้คิดว่าถ้าเราเป็น User เราคิดอะไรอยู่ แต่เราต้องการอะไร)
และทุกอย่างจะตามมาเอง




ทำไมถึงต้องเข้าใจ User ด้วย?


เพราะ Usability ที่ดี ขึ้นอยู่กับ Context of Use (บริบท/สภาพแวดล้อมของการใช้งาน) นั่นหมายความว่าเราจะไม่สามารถออกแบบอะไรก็ตามที่้ใช้งานจริงได้เลย ถ้าเราไม่เข้าใจว่า User ใช้งาน มันด้วยสภาพแบบไหน มีบริบท/สภาพแวดล้อมอย่างไร

การสร้างโปรแกรมให้ "คนอื่น" ใช้ ไม่ใช่นั่งเทียนนึกเอาเองว่าคนใช้งานน่าจะต้องการแบบนี้นะ


เพราะฉะนั้น

1. จงเห็นในสิ่งที่ User เห็น

2. จงรู้ในสิ่งที่ User รู้

3. จงต้องการในสิ่งที่ User ต้องการ

4. จงทำงานในแบบหรือกระบวนการ มีขั้นตอนเดียวกับที่ User ทำ


แล้วทำไมถึงต้องทำ 4 ข้อข้างบนนี้ด้วย?

เพราะเรา (หมายถึงพวกโปรแกรมเมอร์ ดีไซเนอร์ หรือพวกคนในวงการ) รู้ทุกอย่างมากเกินไป เราเป็นผู้สร้าง เรารู้ทุกอย่าง ในขณะที่ User เองไม่ได้มี ความรู้ ความเข้าใจ ความสามารถหรือพื้นฐานในสิ่งต่างๆ ที่เท่ากัน
เราจะไม่มีวันเข้าใจ User เลย จนกว่าเราจะไปยืนในจุดที่เขายืนอยู่


ดังนั้นเราต้องไป FACE-TO-FACE — จงเผชิญหน้ากับ User โดยการพาตัวเองไปอยู่ในที่ที่เขาอยู่ เพื่อที่จะได้เข้าใจเขามากขึ้น

แล้วถามอะไรเขาดีนะ?


1. เราต้องสร้างคำถามที่ดีก่อน เพราะคำถามที่ดีจะนำไปสู่คำตอบที่ดี โดยคำถามจะต้องเป็นคำถามปลายเปิด เพื่อให้ User แสดงความเห็นและความรู้สึกได้ ไม่ใช่ชี้นำว่าถ้าเราสร้างระบบค้นหาในเว็บ คุณคิดว่ามันดีมั้ย (แน่นอนว่าเขาตอบว่าดีแน่นอนล่ะ)

2. ตอนสัมภาษณ์ควรอัดเสียงไว้ด้วย จะได้ไม่ตกหล่นข้อมูลสำคัญ

3. ถ่ายรูปสภาพแวดล้อมของ User เพื่อจะได้เห็นและเข้าใจสภาพแวดล้อมจริงๆ เช่นไปที่บ้านหรือที่ทำงานเขา อาจจะเจอปัญหาที่เราคาดไม่ถึงประมาณว่า User อาจจะบ่นว่าเว็บเราช้า แต่จริงๆ เป็นเพราะเน็ตที่บ้านเขาช้าเองเป็นตัน

4. จดโน๊ตสิ่งที่สำคัญ พฤติกรรม สิ่งที่เค้าพูดหรือย้ำบ่อยๆ

5. สรุปผลโดยทันทีกับ User ว่าข้อมูลที่เราได้มานั้นตรงกับเค้าจริงๆ นะ จะได้ไม่ผิดพลาด

6. สรุปผลกันเอง/วิเคราะห์ด้วยกันกับทีม

- สิ่งที่เค้าสร้างอยู่ในหัว

- เครื่องมือที่เค้าเลือกใช้

- คำศัพท์ที่เค้าใช้อธิบายสิ่งที่เค้าทำ

- Workflow การทำงานของเค้า

- เป้าหมายที่เค้าต้องการ

- คุณค่าที่เค้าได้รับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น